หน้าเว็บ

My best friend

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

เเนะนำตัวเอง



สวัสดีค่ะดิฉันชื่อ นางสาว อรไพลิน ทองดี ชื่อเล่น น้ำทิพย์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เลขที่ 40
เกิดวันที่ 7 เดือน กันยายน พ.ศ.2540
ที่อยู่ : 204 ม. 8  ต.ไก่คำ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ 37000
อาหารที่ชอบ : ผัดกะเพรา
สีที่ชอบ : สีฟ้า เขียวอ่อน
กีฬาที่ชอบเล่น : เเบตมินตัน
อาชีพที่ใฝ่ฝันในอนาคต : ครู
งานอดิเรก : อ่านหนังสือ ฟังเพลง ดูทีวี
คติประจำใจ : ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

วันเม่


  คำว่า “แม่” พจนานุกรมฉบับบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ไว้ดังนี้
     แม่ หมายถึง หญิงในฐานะที่เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
     ในทางพระพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า "แม่" ซึ่งหมายถึง หญิงที่มีครอบครัวไว้หลายนัย เช่น
     1. แม่ บางทีเรียกว่า มารดา มารดร หมายถึง เป็นใหญ่ เช่น แม่ทัพ แม่น้ำ แม่กอง เป็นต้น อันแสดงถึงความยิ่งใหญ่ภายในกิจการนั้นๆ ในที่นี้มาใช้กับผู้ให้กำเนิดแก่ลูกและหาตัวแทนไม่ได้
        - หญิงในฐานะผู้ให้กำเนิดแก่ลูก และหาตัวแทนไม่ได้
        - คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดตน
        - คนที่เป็นหัวหน้า หรือเป็นนาย โดยไม่จำกัดว่าเป็นชายหรือหญิง เช่น แม่ทัพ แม่กอง ฯลฯ
     รวมความแล้ว "แม่" คือ ผู้รับผิดชอบต่อหน้าที่ของตน โดยการรับผิดชอบนั้นมีขอบเขตภายในบ้านเรือน
 ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติ
            ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี พ.ศ.2457 โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว 
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย 
     วันแม่แห่งชาติ งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีงานวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
     ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ทำไมจึงใช้ดอกมะลิเป็นดอกไม้ประจำวันแม่
     การที่ใช้ดอกมะลิ เป็นสัญลักษณ์วันแม่ ก็เพราะดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ มีกลิ่นหอมที่หอมไปไกลและหอมได้นาน ผลิดอกได้ทั้งปี อีกทั้งยังนำไปปรุงเป็นเครื่องยาหอมใช้บำรุงหัวใจได้ด้วย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ลึกซึ้งที่แม่มีต่อลูก เป็นความรักที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาที่ไม่มีที่สิ้นสุด และไม่มีพิษมีภัย มีแต่ความชุ่มชื่นใจดั่งความหอมของดอกมะลิ

โรงเรียนของฉัน (โรงเรียนอำนาจเจริญ)


บัตรเชิญงานศิลปหัตถกรรม


ด.ญ.อรไพลิน ทองดี ม.3/1 เลขที่ 40

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วันเข้าพรรษา

ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ปุริมพรรษา และปัจฉิมพรรษา 1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษา 3 เดืิอนแรกแห่งฤดูฝน ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ในปีปกติและอธิกวาร .ส่วนในปีอธิกมาสจะตรงกับวันแรม 1 ค่ำเดือน 88 หรือราวเดือนกรกฎาคม และออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ราวเดือนตุลาคม 2. ปัจฉิมพรรษา คือ การอนุโลมเข้าพรรษาอีกอย่างหนึ่งตามพระวินัยสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์มีเหตุจำพรรษาไม่ทัน เป็นต้น โดยนับเอา 3 เดือนสุดท้ายแห่งฤดูฝน เรียกว่าเข้าพรรษาหลัง คือ มีวันเข้าพรรษาวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 หรือราวเดือนสิงหาคมและจะออกพรรษาในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ อันเป็นสิ้นสุดฤดูฝน หรือราวเดือนพฤศจิกายน. การจำพรรษาหลังนี้ ทางประเพณีไม่เป็นที่นิยม. [แก้ไข] ประวัติความเป็นมาของวันเข้าพรรษา "เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่างๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ถ้าปีใดมีเดือน 8 สองครั้ง ก็เลื่อนมาเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือนแปดหลัง และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจธุระเจ้าเป็นซึ่งเมื่อเดินทางไปแล้วไม่สามารถจะกลับได้ในเดียวนั้น ก็ทรงอนุญาตให้ไปแรมคืนได้ คราวหนึ่งไม่เกิน 7 คืนเรียกว่า สัตตาหะ หากเกินกำหนดนี้ถือว่าไม่ได้รับประโยชน์ แห่งการจำพรรษา จัดว่าพรรษาขาด ระหว่างเดินทางก่อนหยุดเข้าพรรษา หากพระภิกษุสงฆ์เข้ามาทันในหมู่บ้านหรือในเมืองก็พอจะหาที่พักพิงได้ตามสมควร แต่ถ้ามาไม่ทันก็ต้องพึ่งโคนไม้ใหญ่เป็นที่พักแรม ชาวบ้านเห็นพระได้รับความลำบากเช่นนี้ จึงช่วยกันปลูกเพิง เพื่อให้ท่านได้อาศัยพักฝน รวมกันหลายๆ องค์ ที่พักดังกล่าวนี้เรียกว่า "วิหาร" แปลว่าที่อยู่สงฆ์ เมื่อหมดแล้ว พระสงฆ์ท่านออกจาริกตามกิจของท่านครั้งถึงหน้าฝนใหม่ท่านก็กลับมาพักอีกเพราะสะดวกดี แต่บางท่านอยู่ประจำเลย บางทีเศรษฐีมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ก็เลือกหาสถานที่สงบเงียบไม่ห่างไกลจากชุมชนนัก สร้างที่พัก เรียกว่า "อาราม" ให้เป็นที่อยู่ของสงฆ์ดังเช่นปัจจุบันนี้ โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระ ตามพุทธานุญาตให้มีประจำตัวนั้น มีเพียงอัฏฐบริขารอันได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน และกว่าพระท่านจะหาที่พักแรมได้ บางทีก็ถูกฝนต้นฤดูเปียกปอนมา ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวายผ้าจำนำพรรษา หรือผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้ท่านได้ผลัดเปลี่ยน และถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันของท่านเป็นพิเศษในเข้าพรรษานับเป็นเหตุให้มีประเพณีทำบุญเนื่องในวันนี้สืบมา การที่พระภิกษุสงฆ์ท่านโปรดสัตว์อยู่ประจำเป็นที่เช่นนี้ เป็นการดีสำหรับสาธุชนหลายประการ กล่าวคือ ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามพระพุทธบัญญัติก็นิยมบวชพระ ส่วนผู้ที่อายุยังไม่ครบบวชผู้ปกครองก็นำไปฝากพระ โดยบวชเป็นเณรบ้าง ถวายเป็นลูกศิษย์รับใช้ท่านบ้าง ท่านก็สั่งสอนธรรม และความรู้ให้ และโดยทั่วไป พุทธศาสนิกชนนิยมตักบาตรหรือไปทำบุญที่วัด นับว่าเป็นประโยชน์ การปฏิบัติตนในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ ที่สำคัญคือ มีประเพณีหล่อเทียนขนาดใหญ่เพื่อให้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์อยู่ได้ตลอด 3 เดือน มีการประกวดเทียนพรรษา โดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ ทำบุญรักษาศีลและชำระจิตใจให้ผ่องใส ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านก็จะไปช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึง วันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้น อบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น อนึ่ง บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้จะได้รับ อานิสงส์อย่างสูง

วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ผลการทดสอบ4.1